โรคที่เกิดจากยุง

insects, mosquito, culex-820485.jpg

โรคที่มียุงเป็นพาหะ หรือ ไข้ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ คือ เชื้อโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย, ไวรัส, ปรสิต ที่ติดต่อโดยยุงเป็นพาหะ ยุงเป็นพาหะนำเชื้อโดยที่โรคหรืออาการเจ็บป่วยนั้นไม่ได้เกิดผลกระทบต่อยุงเอง ในแต่ละปีมีผู้คนเกือบ 700 ล้านคนเป็นไข้ที่ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ และอีก 100 ล้านคนเสียชีวิตเพราะเหตุนี้.
โรคที่มียุงเป็นพาหะโรค ได้แก่ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เหลือง โรคเท้าช้าง โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย โรคพยาธิหนอนหัวใจ โรคไข้สมองอักเสบจากไวรัสสายพันธุ์ญี่ปุ่น โรคไข้สมองอักเสบเซนต์หลุยส์ โรคไข้สมองอักเสบตะวันตก โรคไข้สมองอักเสบตะวันออก โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า โรคไข้รอส ริเวอร์ โรคไวรัสป่าบาร์มาห์ โรคไข้สมองอักเสบลาครอสส์ และ โรคไข้ซิกา.

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นไวรัสที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายๆพื้นที่ของโลก ไข้เลือดออกมักพบในพื้นที่ชุมชนยากจน แออัด ชนบท และชานเมือง และยังส่งผลต่อประเทศร่ำรวยในระแวกเดียวกันที่เป็นประเทศเขตร้อนหรือเขตอบอุ่น

ไข้เลือดออกเป็นการติดเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เรียกว่าการติดเชื้อเดงกีรุนแรง มักจะมีอาการตั้งแต่ 3-14 วันหลังจากได้รับเชื้ออาการดังนี้ ไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดตามตัว ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ มีผื่นแดง หรือจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามลำตัว อาการจะดีขึ้นภายใน 2-7 วัน
ในบางกรณีที่โรคนี้จะมีการพัฒนาเป็นการติดเชื้อเดงกีรุนแรง ส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำ มีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือด ทำให้เกิดภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ซึ่งมักเกิดพร้อมกับอาการไข้ที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนนำไปสู่ภาวะช็อก ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มื้อเท้าเย็น อาจจะนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้

ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ที่พบในยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นหลัก โรคไข้เลือดออกเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไข้กระดูกหัก (break-bone fever) ส่งผลกระทบต่อทารก เด็ก และผู้ใหญ่ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคมาลาเรีย

mosquito, schnake, sting-1465062.jpg
มาลาเรียเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากเชื้อโปรโตซัวแพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่องเพศเมีย ซึ้งสามารถป้องกันและรักษาได้
มาลาเรียเป็นโรคไข้เฉียบพลันคือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีไข้ (อุณหภูมิกาย >38.3ºC) ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะมีอาการตั้งแต่ 10-15วันตั้งแต่วันที่ได้รับเชื้อ
แรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อาการอาจจะไม่รุนแรงและสังเกตได้ยาก
โรคมาลาเรียชนิดรุนแรงในเด็กอาจจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ภาวะโลหิตจาง ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือภาวะมาลาเลียขึ้นสมอง
นอกจากนี้ กลุ่มอาการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่บ่อยครั้งเช่นกัน ในบางพื้นที่ผู้คนอาจจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไม่มีอาการได้

โรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคไข้สมองอักเสบเจอี หรือ เชื้อไวรัสเจอี (JEV) ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไวรัสไข้สมองอักเสบในแถบเอเชีย
เกิดจากไวรัสตระกูลฟลาวิที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเดงกี ไข้เหลือง และไวรัสเวสต์ไนล์
คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง มีไข้และปวดศรีษะ หรือไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อ 250 ราย มีเพียง 1 รายที่แสดงอาการป่วยขั้นรุนแรง
อาการสมองอักเสบขั้นรุนแรงมีดังนี้ ไข้สูงอย่างรวดเร็ว ปวดศีรษะ และจะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง มึนงง ซึม เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ หรือมือสั่น อัมพาต ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงถึง 30% ในกลุ่มผู้ที่มีอาการ

ประมาณ 20-30% ของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะประสบปัญหาทางสติปัญญา พฤติกรรม หรือระบบประสาทอย่างถาวร เช่น เกร็ง อัมพาต ชักบ่อยๆ หรือ พูดไม่ชัด เป็นต้น

ไวรัสเจอีติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นพาหะสำคัญ
ผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วจะไม่สามารถแพร่เชื้อที่อยู่ในกระแสเลือดไปสู่ยุงที่มากัดอีก
ยุงจะแพร่เชื้อเข้าสู่สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อไวรัสเจอี ได้แก่ สุกร นก (การระบาดของโรคในสัตว์)
โรคนี้พบบ่อยพื้นที่ชนบทและชานเมือง ละแวกที่ผู้คนที่เลี้ยงสัตว์จำพวกพาหะ
mosquito, malaria, gnat-1548948.jpg

ชิคุนกุนยา

ชิคุนกุนยา คือเชื้อไวรัสชื่อที่ติดต่อมาสู่คนโดยการถูกยุงลายกัดทำให้เกิดไข้สูงและอาการปวดข้ออย่างรุนแรง
อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า และมีผื่น มักมีอาการปวดหลายข้อพร้อมกันและจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ส่งผลให้ร่างกายทรุดโทรม
โรคติดเชื้อชิคุนกุนยามีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสเดงกีและไวรัสซิกา ซึ่งบางครั้งอาจวินิจฉัยโรคได้ผิดพลาดเพราะมีอาการคล้ายคลึงกัน
เนื่องจากไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อชิคุนกุนยา การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการของผู้ป่วย
การดูแลตนเองและที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพื่อให้พ้นจากการถูกยุงกัดก็จะช่วยป้องกันการป่วยโรคติดเชื้อชิคุนกุนยาได้

โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis) ซึ่งเป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย
เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรียโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค
เมื่อยุงที่มีเชื้อฟิลาเรียกัดดูดเลือดคน ผู้ติดเชื้อจะได้รับตัวอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังต่อมน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง เจริญเป็นตัวเต็มวัย วัยเด็กจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ก่อให้เกิดการอักเสบและพยาธิสภาพ ทำให้อวัยวะบวมใหญ่ รู้สึกเจ็บ และผิดรูปอย่างถาวร
อาการอย่างเฉียบพลันของโรคทำให้เกิดความทุพพลภาพแบบชั่วคราวไปสู่ความทุพพลภาพแบบถาวร

การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ   การติดเชื้อโรคเท้าช้างในท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองไม่ทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้การติดเชื้อส่วนมากที่ไม่มีอาการจะมีผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อระบบน้ำเหลือง และไต ทั้งนี้ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วยเช่นกัน

การติดเชื้อที่แสดงอาการ   จะมีการอักเสบของท่อน้ำเหลืองซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย มักเกิดร่วมกับต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรังหรือโรคเท้าช้าง อาการเหล่านี้บางส่วนเกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อปรสิต ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้ท่อน้ำเหลืองที่อักเสบอาจเกิดการบวมขึ้นชั่วคราวทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากระบบต่อมน้ำเหลืองถูกทำลาย

เมื่อโรคเท้าช้างพัฒนาเป็นภาวะเรื้อรังจะมีการอุดตันของทางเดินน้ําเหลือง (ต่อมบวมของเนื้อเยื้อ) หรือ ภาวะเท้าช้าง (ผิวหนังหนา) ในบริเวณที่ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ เกิดการคั่งของ น้ําเหลืองจนทําให้เกิดการบวมโตของอวัยวะจนเกิดภาวะเท้าช้าง ซึ่งสามารถเกิดบริเวณหน้าอกและอวัยวะสืบพันธุ์ได้เป็นเรื่องปกติ

มาตรการการควบคุมโรคเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
ในเขตที่มีการระบาดหรือมีความชุกของโรคสูง วิธีที่ช่วยลดการแพร่กระจายของโรคคือ กับดักจับแมลง หรือ การฉีดยาฆ่า แมลง เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการป้องกันประชากรในเขตพื้นที่ระบาดได้